top of page
LINE_ALBUM_สัปดาห์วิทยาศาสตร์_๒๒๐๘๑๙_70.jpg

ก่อนจะไปดูวิธีการสร้างวินัยเชิงบวก เราขอพูดถึงชุดกระบวนการทางความคิดที่เรียกว่า “EF หรือ Executive Function” ซึ่งเกิดจากการพัฒนาของสมองส่วนหน้า และจะพัฒนาได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในเด็กวัย 3-5 ปี โดยเฉพาะด้านความจำ การคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง แถมเด็กที่มีทักษะทางความคิด หรือ EF จะประสบความสำเร็จได้มากกว่าเด็กที่ไม่มี EF หรือเด็กที่พัฒนาทักษะนี้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

IMG_4458.jpg

เมื่อวิธีการสร้างวินัยส่งผลต่อ EF (Executive Function) ของลูก

สำหรับการสร้างวินัยให้กับลูกก็ส่งผลต่อ EF เช่นเดียวกัน โดยการใช้ความรุนแรงจนเด็กได้รับความเจ็บปวดทั้งทางกาย และจิตใจ จะทำให้เด็กจะลดความเชื่อมั่นในตัวเอง (Self-esteem) ลง และกลายเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่มั่นใจที่แก้ปัญหาด้วยตัวเอง และไม่ค่อยยืดหยุ่นกับการลองหาคำตอบด้วยวิธีใหม่ ๆ อีกทั้งเด็กที่ถูกลงโทษด้วยความรุนแรงนั้น มีแนวโน้มจะเติบโตไปเป็นคนที่ใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น รวมถึงอาจเกิดภาวะซึมเศร้าเมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่อีกด้วย

    ในขณะที่งานวิจัยจำนวนมากกล่าวว่า การสร้างวินัยในเชิงบวกที่ไม่จำเป็นต้องมีความรุนแรงนั้นจะทำให้เกิด EF ได้มากกว่า และสามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนชุดความคิดของผู้ปกครอง โดยเปลี่ยนจากคำว่าพ่อแม่ที่เป็น “สถานะ” มาเป็น “หน้าที่” และมองว่า หากจะเลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์ และมีความสุข คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะพัฒนาตนเองไปพร้อมกับลูกน้อยของตน เหมือนกับการเล่นกีฬาเป็นทีม ที่ผู้เล่นทุกคนมีความสำคัญ เคารพกันและเชื่อใจกันและกัน มากกว่าการเลี้ยงดูด้วยอำนาจของพ่อแม่ที่ต้องการควบคุมลูกให้อยู่ภายใต้คำสั่งเพียงอย่างเดียว โดยมีหลักการง่าย ๆ อยู่ 2 อย่าง ได้แก่

1. ไม่มีคำว่า “เด็กไม่ดี” มีเพียงแค่ “เด็กที่มีพฤติกรรมไม่ดี”

คุณพ่อคุณแม่จะต้องเชื่อก่อนว่า ลูกของคุณเป็นเด็กคนหนึ่งที่สามารถทำตัวไม่น่ารักได้ ดื้อได้ตามวัยของพวกเขา และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นได้ผ่านการเลี้ยงดูที่ถูกวิธี

2. เคารพความคิดเห็นของลูก เหมือนเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง

ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ ทุกวัยย่อมมีความคิดเป็นของตัวเอง การเปิดใจรับฟังความคิดของพวกเขาจะทำให้พ่อแม่ได้รับความไว้วางใจจากลูกมากขึ้น เมื่อพ่อแม่รับฟังลูกอย่างเข้าใจ เด็ก ๆ ก็จะยอมรับสิ่งที่พ่อแม่สื่อสารกับเขาเช่นเดียวกัน

LINE_ALBUM_สัปดาห์วิทยาศาสตร์_๒๒๐๘๑๙_72.jpg

วินัยเชิงบวก (Positive Discipline)

หากกล่าวถึง “การสร้างวินัยให้กับลูก” หลายคนคงนึกถึงการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด มีบทลงโทษเพื่อให้จดจำ เช่น การดุ การตีด้วยมือหรือไม้เรียว เพราะเชื่อว่าเมื่อเด็กรู้สึกเจ็บปวด พวกเขาจะไม่ทำพฤติกรรมเดิมอีก เหมือน “คำสั่ง” ที่พ่อแม่ผู้หวังดีเลือกใช้กับลูกของตัวเอง แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง บทเรียนที่เด็กได้รับ อาจน้อยนิดเมื่อเทียบกับความเจ็บ และบาดแผลที่ติดตัวไปก็เป็นได้

จะเป็นอย่างไร ถ้าเราเปลี่ยนการมองคำว่าวินัยจาก “การสั่ง” ให้กลายเป็น “การสอน "

ปัจจุบัน การเลี้ยงลูกน้อยวัย 3-5 ปีด้วยวิธี “Positive Parenting” กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่ช่วยให้เด็กเล็กได้ฝึกการคิด วิเคราะห์ และพัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์ไปพร้อมกับพ่อแม่

 

ซึ่งหนึ่งในวิธีการเหล่านั้น คือ การสร้างวินัยเชิงบวก หรือ Positive Discipline ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการฝึกทักษะให้ลูกของคุณกลายเป็นเด็กที่เรียนรู้วินัยด้วยตนเอง สามารถมีพัฒนาการทางด้านความคิดที่ก้าวกระโดด และเผชิญหน้ากับปัญหาหลากหลายรูปแบบได้ในชีวิตประจำวัน

  • ชื่นชมหรือขอบคุณเวลาที่เด็กทำพฤติกรรมที่เหมาะสมแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น ขอบคุณที่ตื่นเช้ามาแต่งตัวเอง

  • เมื่อเด็กไม่ยอมรับฟัง ให้เสนอทางเลือกเพื่อให้เขาตัดสินใจด้วยตัวเอง (พ่อแม่พึงระวังว่าจะต้องรักษาสัญญาเมื่อเด็กได้เลือกตัวเลือกใดแล้ว)

  • ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เมื่อลูกกรี๊ดเสียงดังเพราะหงุดหงิด ให้ชวนดูสิ่งรอบตัวที่น่าสนใจกว่า

เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก เพื่อนำไปสู่ทักษะ
Executive Function 

bottom of page